ดอกไม้เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก มีโครงสร้างสำคัญ 4 ส่วน
โครงสร้างของดอก
|
1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนอยู่นอกสุดมีสีเขียว เนื่องจากเปลี่ยนแปลงมาจากใบ ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอกไม้ขณะดอกไม้ยังตูมอยู่ นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย
3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนที่ถัดจากกลีบดอกเข้ามา เจริญและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ในพืชบางชนิดเกสรตัวผู้อาจทำหน้าที่อื่น เช่น สร้างน้ำหวานล่อแมลง หรือเป็นอาหารให้แมลงที่ช่วยการถ่ายละอองเรณู โดยเกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วย 2 ส่วน
3.1 ก้านชูเกสรตัวผู้ (Filament) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้น อาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกกัน อาจยาวหรือสั้นซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของพืชดอก ทำหน้าที่ชูอับเกสรตัวผู้หรืออับเรณู
3.2 อับเรณู (Anther) มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาว 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ 4 ถุง เรียกว่า ถุงเรณูหรือโพรงอับเรณู บรรจุกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า microspore mother cell ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นละอองเรณูจำนวนมาก โดยมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆสีเหลืองๆ ละอองเรณูทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูถูกปลิวออกมาจากดอก
4. เกสรตัวเมีย (Pistil) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
4.1 ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) คือ ส่วนปลายของก้านเกสรตัวเมีย มีลีกษณะเป็นปุ่ม มีขนหรือของเหลว
เหนียว ๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมาหรือแมลงนำพา
4.2 ก้านเกสรตัวเมีย (Style) เป็นส่วนที่ต่อจากยอดเกสรตัวเมียลง มีลักษณะเป็นท่อยาวต่อลงมาถึงรังไข่
4.3 รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนที่พองโตขยายออกเป็นกระพุ้ง หรือกระเปาะ โดยภายในรังไข่มีออวุล 1 อัน หรือมากกว่า และภายในออวุลจะมีถุงเอ็มบริโอ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ไข่